ศาลปกครองยกฟ้องเพิกถอนคำสั่ง ตั้ง คุก มทบ.11 เหตุ ยธ.ออกคำสั่งชอบด้วยกฎหมายแล้ว

วานนี้(26 เม..2562) ศาลปกครองมีคำพิพากษายกฟ้องคดีที่พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ฟ้องเพิกถอนคำสั่งกระทรวงยุติธรรมที่ 314/2558 เรื่อง ตั้งเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรีขึ้นในกองพันทหารราบ มณฑลทหารบกที่ 11 (พัน..มทบ.11) ถนนพระราม 5 กรุงเทพฯ ที่ประกาศใช้เมื่อ 11 .. 2558 ซึ่งออกโดยพล..ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมในเวลานั้น

ตามคำพิพากษาของศาลปกครองได้วินิจฉัยเอาไว้ว่าคดีนี้มีประเด็นที่ต้องพิจารณา 2 ประเด็น คือ

ประเด็นแรก ผู้ถูกฟ้อง หรือ รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ได้ต่อสู้ว่าพันธ์ศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้ฟ้องคดีนั้นไม่มีสิทธิฟ้องเนื่องจากไม่เคยถูกกักขังในเรือนจำชั่วคราวฯ แห่งนี้มาก่อนจึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนเสียหาย ศาลเห็นว่าผู้ฟ้องมีสิทธิฟ้องเนื่องจากผู้ฟ้องเป็นผู้ที่ถูกดำเนินคดีในฐานความผิดต่อความมั่นคงของรัฐตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 แม้ว่าผู้ฟ้องจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแต่หากถูกเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวหรือถูกพิพากษาให้จำคุกก็อาจจะถูกนำตัวไปกักขังที่เรือนจำชั่วคราวแห่งนี้ ศาลจึงเห็นว่าพันธ์ศักดิ์เป็นผู็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล ตามมาตรา 42 ...จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.. 2542

ประเด็นที่สองคำสั่งกระทรวงยุติธรรมที่ 314/2558 เรื่อง กำหนดอาณาเขตเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี ลงวันที่ 8 ก.ย.2558 เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น ในคำพิพากษาสามารถแบ่งเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

  1. คำสั่งดังกล่าวออกโดยผู้มีอำนาจและเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว เนื่องจากกรมราชทัณฑ์เป็นส่วนราชการที่อยู่ใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม ตามมาตรา 33(7) แห่งพ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 และรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมนั้นเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด ตามมาตรา 20 พ.ร.บ.บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงมีอำนาจหน้าที่กำหนดสถานที่และวางอาณาเขตเรือนจำ ตามมาตรา 6 ประกอบมาตรา4 (1) และ (7) พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2479
  2. การใช้ดุลพินิจของรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ผู้ถูกฟ้องคดีนั้นชอบเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและเหมาะสมแล้ว ไม่ได้เป็นการเลือกปฏิบัติซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2557 มาตรา 4 เพราะศาลเห็นว่าพ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 มาตรา 6ให้อำนาจแก่ผู้ถูกฟ้องในการแยกผู้ต้องขังตามประเภท ชั้น หรือเพศได้ตามกฎหมาย และเมื่อผู้ถูกฟ้องเห็นว่าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมีผู้ต้องขังจำนวนมากรวมทั้งผู้ต้องขังในคดีความมั่นคงไม่ควรขังรวมกับผู้ต้องขังอื่นๆ ผู้ถูกฟ้องจึงมีอำนาจทำได้ และเมื่อผู้ถูกฟ้องได้ใช้ดุลยพินิจกำหนดให้ผู้ต้องขังในความผิดฐานดังกล่าวอยู่ในเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี นอกจากเพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตของผู้ต้องขังแล้ว ยังเพื่อความปลอดภัยของเรือนจำไม่ว่าเพื่อป้องกันการหลบหนี หรือความปลอดภัยของเจ้าพนักงานเรือนจำและผู้เกี่ยวข้องแล้ว เพราะผู้ต้องขังคดีความมั่นคงมีมูลเหตุจูงใจในการกระทำความผิดแตกต่างจากคดีความผิดอื่น และยังเกิดขึ้นในช่วงที่ คสช.ยึดอำนาจปกครองประเทศซึ่งเป็นภาวะไม่ปกติ จึงต่างกับความผิดอื่นหรือตามความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงที่เกิดขึ้นในภาวะปกติ
  3. ประเด็นที่พันธ์ศักดิ์อ้างว่าคำสั่งดังกล่าวมีเนื้อหาไม่ชัดเจนและให้ดุลพินิจแก่เจ้าหน้าที่เกินควร ซึ่งขัดกับหลักกฎหมายทั่วไปของศาลปกครอง และมาตรา 34 พ.ร.บ.วิธิปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 นั้น ศาลเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายโดยทั่วไปไม่ได้มุ่งหมายบังคับเฉพาะกรณีใดกรณีหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จึงเป็นกฎตามมาตรา 3 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ แต่ไม่ขัดกับ มาตรา 34 พ.ร.บ.วิธิปฏิบัติราชการทางปกครอง ที่ใช้บังคับการกระทำทางปกครองประเภทคำสั่งทางปกครองเท่านั้นคำสั่งกระทรวงยุติธรรมที่ 314/2558 จึงไม่ขัดแย้งตามที่ผู้ฟ้องกล่าวอ้าง

    ส่วนที่ผู้ฟ้องดคีอ้างว่า “ผู้ต้องขังในฐานความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐและคดีอื่นที่เกี่ยวเนื่องนั้น” ศาลเห็นว่าเป็นการระบุตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 และการกำหนดดังกล่าวเป็นการระบุประเภทความผิดตามข้อ 40 ของกฎกระทรวงมหาดไทย ที่ออกตามมาตรา 58 พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 การระบุเช่นนั้นย่อมสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามได้ ส่วน “ผู้ต้องขังประเภทมีเหตุพิเศษ” ก็เป็นการระบุตาม ข้อ 42 ของกฎกระทรวงมหาดไทย ที่ออกตามกฎหมายฉบับเดียวกัน ซึ่งศาลเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ชัดเจนและไม่ขัดต่อหลักกฎหมายปกครองและไม่ได้ให้ดุลพินิจแก่เจ้าหน้าที่อย่างกว้างขวางเกินสมควรแล้ว
  4. นอกจากนั้นผู้ต้องขังยังสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีกับเจ้าพนักงานเรือนจำหรือเจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหากผู้ต้องขังรายใดถูกทำร้ายร่างกาย หรืออยู่ในสภาวะเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยในชีวิตหรือถูกขัดขวางสิทธิในการปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัวระหว่างการถูกขังในเรือนจำชั่วคราวแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นจากการปฏิบัติของเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสภาพห้องขัง อีกทั้งยังเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสามารถปรับปรุงแก้ไขสภาพห้องขังได้ เช่น เปลี่ยนประตูเป็นลูกกรง เจาะช่องหน้าต่าง ติดกล้องวงจรปิด หรือจัดให้พบจิตแพทย์ เพื่อมาฟื้นฟูจิตใจผู้ต้องขังได้ ดังนั้นเรื่องที่เกิดขึ้นกับ สุริยันต์ สุจริตพลวงษ์ พ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภา ที่เสียชีวิตระหว่างถูกคุมขัง และกรณีที่อาเดม คาราดักร้องเรียนว่ามีการซ้อมทรมาณ จึงไม่ได้เกิดจากคำสั่งกระทรวงยุติธรรมที่ให้จัดตั้งเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรีขึ้นมา
  5. ศาลเห็นว่าจากสถิติผู้ต้องขังในเรือนจำชั่วคราวฯ แห่งนี้ส่วนใหญ่ผู้ต้องขังคดียาเสพติด แสดงให้เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ได้ประสงค์จะควบคุมตัวผู้เห็นต่างกับ คสช. เป็นการเฉพาะจึงไม่ได้เป็นการใช้อำนาจโดยไม่สุจริตตามที่พันธ์ศักดิ์กล่าวอ้าง
  6. ที่พันธ์ศักดิ์อ้างว่ารัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมสามารถใช้มาตรการอื่นแทนได้โดยแยกขังผู้ต้องขังคดีความมั่นคงไว้ในเรือนจำปกติได้ การตั้งเรือนจำชั่วคราวฯแห่งนี้ขึ้นมาจึงเป็นการใช้ดุลพินิจไม่สมควรแก่เหตุ ศาลเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีได้ใช้อำนาจตามมาตรา 11 พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ นั้นให้อำนาจแก่ผู้ถูกฟ้องคดีในการกำหนดชั้นผู้ต้องขัง และตามมาตรา 6 ก็เป็นอำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีในการกำหนดชั้นของเรือนจำและการแยกหรือแบ่งควบคุมผู้ต้องขังในเรือนจำแล้ว

จากเหตุผลดังกล่าวทั้งหมดศาลเห็นว่าไมสามารถรับฟ้งข้อกล่าวอ้างของพันธ์ศักดิ์ได้ ให้ยกฟ้อง

อ่านสรุปข้อเท็จจริงเรื่องราวของเรือนจำแห่งนี้ได้ที่ ตุลาการผู้แถลงคดีศาลปกครองเสนอยกฟ้องเพิกถอนคำสั่งตั้งคุก มทบ.11 พิพากษาศุกร์นี้

X