ความคืบหน้าคดีสฤณี: ศาลฎีกาเลื่อนไต่สวน นัดพิจารณาใหม่ 11 ต.ค.

หลังจากที่สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน นักแปล และนักวิชาการอิสระ ได้ยื่นคำให้การคดีละเมิดอำนาจศาลต่อทางศาลฎีกา เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2562 ล่าสุด 26 กันยายน 2562 ศาลได้นัดพร้อมสอบคำให้การ บรรณาธิการข่าวของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ยุทธนา นวลจรัส ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 และนัดไต่สวนผู้กล่าวหานายสุประดิษฐ์ จีนเสวก เลขานุการ แผนกคดีเลือกตั้งในศาลฎีกา

ว่าด้วยข้อหาละเมิดอำนาจศาล: มาตรการเพื่อสร้างสถิตความยุติธรรม หรือคือเครื่องมือทางการเมือง

แผนกคดีเลือกตั้งในศาลฎีกาออกหมายเรียกสฤณีฐานละเมิดอำนาจศาล

ก่อนการพิจารณาเริ่ม ทนายความของสฤณี แถลงต่อศาลฎีกาว่า ได้หารือกับ สฤณี ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 แล้วยอมรับว่าบทความอันตรายของภาวะ “นิติศาสตร์นิยมล้นเกิน” (อีกที): กรณี “หุ้นสื่อ” ของผู้สมัคร ส.ส. ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ นั้นบางส่วนอาจใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดการกระทบกระเทือนและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน จึงยินดีที่จะแสดงความรับผิดชอบโดยการเขียนบทความเพื่อชี้แจงต่อสาธารณะ ส่วนทางผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เห็นด้วยในทางเดียวกัน และยินดีที่จะให้พื้นที่บนหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจเพื่อชี้แจง อย่างไรก็ตาม เลขานุการแผนกคดีเลือกตั้งในศาลฎีกา ผู้กล่าวหา ได้แถลงว่าจะรับข้อเสนอของสฤณีไปหารือกับผู้บังคับบัญชา

ศาลฎีกาจึงสั่งให้เลื่อนการไต่สวนในวันที่  1 ต.ค.ออกไปก่อน เนื่องจากทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างการตกลงกัน และจะนัดพิจารณาอีกครั้งในวันที่ 11 ตุลาคม 2562 เวลา 9.30 น. เพื่อพิจารณาข้อเสนอของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งทางผู้ถูกกล่าวหาจะต้องส่งบทความให้ศาลตรวจสอบก่อนเผยแพร่ในวันที่ 7 ตุลาคม 2562

ทั้งนี้สฤณี อาชวานันทกุล ถูกศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งถูกกล่าวหาว่า ละเมิดอำนาจศาลตามมาตรา 32 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จากการเผยแพร่บทความ “อันตรายของภาวะ “นิติศาสตร์นิยมล้นเกิน” (อีกที) กรณีหุ้นสื่อของผู้สมัคร ส.ส.” ทางหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 14 พ.ค. 2562 โดยในบทความดังกล่าวได้วิจารณ์คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ซึ่งถอนชื่อผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดสกลนคร จากพรรคอนาคตใหม่ ในเดือนมีนาคม 2562 เนื่องจากมีคุณสมบัติต้องห้ามเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ

ขอบคุณรูปภาพปกบทความจาก:

Facebook/Sarinee Achavanuntakul – สฤณี อาชวานันทกุล

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง:

สถานะ ‘ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล’ กับหลักสิทธิมนุษยชนและวิธีพิจารณาความอาญาสมัยใหม่

ขอบเขตการกระทำที่เป็นการละเมิดอำนาจศาล: มองกฎหมายต่างประเทศแล้วย้อนดูไทย

10 เรื่องควรรู้ว่าด้วยข้อหา “ดูหมิ่นศาล”

 

X